วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2563

3.3 พันธะโคเวเลนต์

การเกิดพันธะโคเวเลนต์

ธาตุอโลหะมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงเมื่อรวมตัวกันจะไม่มีอะตอมใดยอมเสียอิเล็กตรอนอะตอมจึงยึดเหนี่ยวกันโดยใช้เวเลนต์อิเล็กตรอนร่วมกันเรียกว่า พันธะโคเวเลนต์ และเรียกสารที่อะตอมยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโคเวเลนต์ว่า สารโคเวเลนต์

พันธะเดี่ยว คือ การใช้เวเลนต์ผอิเล็กตรอนร่วมกัน 1 คู่  
พันธะคู่ คือ การใช้เวเลนต์อิเล็กตรอนร่วมกัน 2 คู่
พันธะสาม คือ การใช้เวเลนต์อิเล็กตรอนร่วมกัน 3 คู่
โครงสร้างลิวอิส คือ การเกิดพันธะโคเวเลนต์ พันธะโคเวเลนต์เกิดได้ทั้ง พันธะเดี่ยว พันธะคู่ และพันธะสาม แสดงอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะด้วยจุดหรือเส้น


สูตรโมเลกุลและชื่อของสารโคเวเลนต์

เรียงลำดับจากค่าอิเล็กโทรเนกาวิตีน้อยไปมาก พร้อมทั้งระบุจำนวนอะตอมของธาตุที่มีจำนวนอะตอมมากกว่า 1 อะตอม 

การเรียงชื่อสารโคเวเลนต์
1. สารโคเวเลนต์ที่ประกอบด้วยธาตุชนิดเดียว
2. สารประกอบที่ประกอบด้วยธาตุ 2 อะตอม  โดยเปลี่ยนพยางค์ท้ายเป็น ไ-ด์ และ ระบุจำนวนอะตอมธาตุองค์ประกอบในโมเลกุล คำในภาษากรีก


ความยาวพันธะและพลังงานพันธะของสารโคเวเลนต์

ระยะระหว่างนิวเคลียสที่ทำให้พลังงานศักย์ต่ำสุด เรียกว่า ความยาวพันธะ
การเคลื่อนย้ายตำแหน่งของอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะในโมเลกุลที่เขียนโครงสร้างลิวอิสได้มากกว่า 1 แบบ เรียกว่า เรโซแนนซ์ และเรียกโครงสร้างลิวอิสแต่ละแบบว่า โครงสร้างเรโซแนนซ์ และ เรียกโครงสร้างผสมของโครงสร้างเรโซแนนซ์ทุกโครงสร้างว่า โครงสร้างเรโซแนนซ์ผสม


พลังงานปริมาณน้อยที่สุดที่ใช้สลายพันธะระหว่างอะตอมคู่ร่วมพันธะในโมเลกุลสถานะแก๊สให้อะตอมเดี่ยวในสถานะแก๊สเรียกว่า พลังงานพันธะ

ปฏิกิริยาเคมีเกี่ยวข้องกับกระบวนการสลายพันธะในสารตั้งต้นและการสร้างพันธะเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ ดูดเป็น+  คายเป็น -  สูตรคือ ΔH = E1 + E2

รูปร่างโมเลกุลโคเวเลต์


สภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลต์

1. พันธะโคเวเลนต์ไม่มีขั้ว เกิดจากอะตอมของธาตุชนิดเดียวกัน มีค่า EN เท่ากัน
2. พันธะโคเวเลนต์มีขั้ว เกิดจากอะตอมของธาตุต่างชนิดกัน มีค่า EN ไม่เท่ากัน ผบต่างของ EN มาก สภาพขั้วจะแรงมาก

แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลและสมบัติของสารโคเวเลนต์

1. แรงลอนดอน คือ แรงยึดเหนี่ยวที่เกิดในทุกโมเลกุล จุดเดือด จุดหลอมเหลวของแรงลอนดอนจึงขึ้นอยู่กับ มวลโมเลกุล
2. แรงดึงดูดระหว่างขั้ว คือ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมีขั้ว แรงดึงดูดระหว่างขั้ว + แรงลอนดอน = แรงแวนเดอร์วาลส์
3. พันธะไฮโดรเจน คือ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล (ไม่ใช่ภายในโมเลกุล) เกิดระหว่าง H  ในโมเลกุลหนึ่งกับอีกธาตุหนึ่งที่มีขนาดเล็กและค่าENสูงในอีกโมเลกุลหนึ่ง ได้แก่ F O N

สารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่าย

สารที่มีพันธะโคเวเลนต์เชื่อมต่อกันเป็นโครงร่างตาข่าย





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

O-NET