สามารถแผ่รังสีแล้วกลายเป็นอะตอมของธาตุใหม่ได้ ต่อมาพบว่า ธาตุพอโลเนียม เรเดียม และทอเรียม ก็สามารถแผ่รังสีได้ ปรากฏการณ์ที่ธาตุแผ่รังสีได้เองอย่างต่อเนื่อง เรียกว่า กัมมันตภาพรังสี เป็นการเปลี่ยนแปลงภายในนิวเคลียสของไอโซโทปที่ไม่เสถียร และ ไอโซโทปของธาตุที่สามารถแผ่รังสีได้เองอย่างต่อเนื่อง เรียกว่า ไอโซโทปกัมมันตรังสี หรือ สารกัมมันตรังสี สำหรับธาตุที่ทุกไอโซโทปเป็นไอโซโทปกัมมันตรังสี เรียกว่า ธาตุกัมมันตรังสี
การเกิดกัมมันตภาพรังสี
เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดกับไอโซโทปกัมมันตรังสีเพราะนิวเคลียสมีพลังงานสูงมากแและไม่เสถียร จึงปล่อยพลังงานออกมา รังสีที่แผ่ออกมาอาจเป็น รังสีแอลฟา รังสีบีตา หรือ รังสีแกมมา
การสลายตัวของไอโซโทปกัมมันตรังสี
-การแผ่รังสีแอลฟา เกิดกับนิวเคลียสที่มีเลขอะตอมสูงกว่า 38 และ มีจำนวนนิวตรอนต่อโปรตอนในสัดส่วนที่ไม่เหมาะสม
-การแผ่รังสีบีตา เกิดกับนิวเคลียสที่ทีจำนวนนิวตรอนมากกว่าโปรตอน นิวตรอนในนิวเคลียสจะเปลี่ยนไปเป็นโปรตอนและอิเล็กตรอน
-การแผ่รังสีแกมมา เกิดกับไอโซโทปกัมมันตรังสีที่มีพลังงานสูงมาก หรือ ไอโซโทปที่สลายตัวให้รังสีแอลฟาและรังสีบีตา
อันตรายจากไอโซโทปกัมมันตรังสี
รังสีต่างๆเหล่านี้มีแหล่งกำเนิดจากธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นมา สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวกับรังสีจะต้องแสดง สัญลักษณ์รังสี ลงบนฉลากของภาชนะหรือเครื่องมือรวมทั้งบริเวณใกล้เคียง
ครึ่งชีวิตของไอโซโทปกัมมันตรังสี
ไอโซโทปกัมมันตรังสีจะสลายตัวให้รังสีชนิดใดชนิดหนึ่งออกมาเองตลอดเวลา ไอโซโทปกัมมันตรังสีแต่ละชนิดจะสลายตัวได้เร็วหรือช้าแตกต่างกัน อัตราการสลายตัวจะบอกเป็น ครึ่งชีวิต
ปฏิกิริยานิวเคลียร์
เป็นการเปลี่ยนแปลงในนิวเคลียสของไอโซโทปกัมมันตรังสี อาจเกิดจากการแตกตัวของนิวเคลียสของอะตอมที่มีขนาดใหญ่ หรือเกิดจากการรวมตัวของนิวเคลียสของอะตอมที่มีขนาดเล็กได้ไอโซโทปใหม่หรือนิวเคลียสของธาตุใหม่
-ฟิชชัน กระบวนการที่นิวเคลียสของไอโซโทปของธาตุหนักบางชนิดแตกออกเป็นไอโซโทปของธาตุที่เบากว่า
-ฟิวชัน นิวเคลียสของธาตุเบาสองชนิดหลอมรวมกันเกิดเป็นนิวเคลียสใหม่ที่มีมวลสูงกว่าเดิมและพลังงานมาก
-ปฏิกิริยาลูกโซ่ นิวตรอนที่เกิดใหม่ชนกับนิวเคลียสอื่นๆจะเกิดฟิชชันต่อเนื่องไปเรื่อยๆ
-พลาสมา กระบวนฟิวชันมานานแต่การนำมาใช้อย่างเป็นรูปธรรมเป็นไปได้ยากเพราะการเกิดฟิวชันต้องใช้อุณหภูมิสูงมาก
เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารกัมมันตรังสี
- ด้านธรณีวิทยา ใช้ C-14 หาอายุของวัตถุโบราณที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ
- ด้านการแพทย์ ใช้เพื่อศึกษาความผิดปกติของอวัยวะต่างๆในร่างกาย
- ด้านเกษตรกรรม ใช้ในการติดตามระยะเวลาของการหมุนเวียนแร่ธาตุในพืช
- ด้านอุตสาหกรรม ใช้ตรวจหารอยตำหนิในโลหะหรือรอยรั่วของท่อขนส่งของเหลว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น