สารที่เกิดจากธาตุโลหะกับธาตุอโลหะ เช่น โซเดียมตลอไรด์ แคลเซียมฟลูออไรด์ มีสมบัติบางประการคล้ายกัน และสารเหล่านี้มีการยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคที่เหมือนกัน
การเกิดพันธะไอออนิก
- ธาตุโลหะ มีพลังงานไอออไนเซซันต่ำจึงเสียอิเล็กตรอนเป็นไอออนบวกได้ง่าย
- ธาตุอโลหะ มีค่าสัมพรรคภาคอิเล็กตรอนสูงจึงรับอิเล็กตรอนเป็นไอออนลบ
ไอออนบวกและไอออนลบมีประจุไฟฟ้าต่างกันจึงยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงดึงดูดระหว่างประจุไฟฟ้า คือ พันธะไอออนิก และเรียกสารที่เกิดจากพันธะไอออนิกว่า สารประกอบไอออนิก
สารประกอบไอออนิกในสถานะของแข็งอยู่ในรูปของผลึกที่มีไอออนบวกและไอออนลบยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะไอออนิกอย่างต่อเนื่องกันไปทั้งสามมิติเป็นโครงผลึก และ ไม่อยู่ในรูปโมเลกุล
สูตรเคมีและชื่อของสารประกอบไอออนิก
สารประกอบไอออนิกประกอบด้วยไอออนบวกและไอออนลบที่มีประจุต่างๆ มีผลต่ออัตราส่วนการรวมของไอออนและสูตรของสารประกอบไอออนิก
สารประกอบไอออนิกเกิดจากไอออนบวกและไอออนลบ ชื่อของไอออนบวกเรียกตามชื่อธาตุแล้วลงท้ายด้วยคำว่า ไอออน
ไอออนลบเรียกชื่อธาตุโดยเปลี่ยนท้ายเสียงเป็น ไ-ด์แล้วลงท้ายด้วยคำว่า ไอออน
ชื่อสารประกอบไอออนิกได้จากการเรียกชื่อไอออนบวกแล้วตามด้วยชื่อไอออนลบโดยตัดคำว่า ไอออน ออก
ธาตุโลหะบางชนิดสามารถเกิดเป็นไอออนบวกที่มีประจุได้หลายค่า โดยเฉพาะธาตุโลหะแทรนซิซัน ค่าที่แสดงประจุไฟฟ้าหรือประจุไฟฟ้าสมมติของไอออนหรืออะตอมของธาตุ เรียกว่า เลขออกซิเดซัน
พลังงานกับการเกิดสารประกอบไอออนิก
ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงพลังงานด้วย ซึ่งพลังงานการเกิด ของสารประกอบสามารถหาได้จากการทดลองในการทำปฏิกิริยาระหว่างธาตุ
สมบัติของสารประกอบไอออนิก
สารประกอบไอออนิกส่วนใหญ่เป็นผลึกที่แข็งเนื่องจากการยึดเหนี่ยวที่แข็งแรงระหว่างไอออนบวกและไอออนลบ ผลึกมีความเปราะ แตกหักง่าย เนื่องจากการเลื่อนตำแหน่งเพียงเล็กน้อยของไอออนเมื่อมีแรงกระทำ อาจทำให้ไอออนชนิดเดียวกันเลื่อนไถลไปอยู่ตำแหน่งตรงกัน เกิดแรงผลักระหว่างกัน
- สารประกอบไอออนิกสถานะของแข็ง ไม่นำไฟฟ้า แต่เมื่อหลอมเหลวหรือละลายในน้ำจะนำไฟฟ้าได้
- สารประกอบไอออนิกมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง ส่วนใหญ่ละลายน้ำได้ ส่วนใหญ่สารละลายของสารประกอบไอออนิกในน้ำส่วนใหญ่มีสมบัติเป็นกลางหรือเบส
พลังงานไฮเดรชัน คือ ไอออนบวกและไอออนลบแยกอออกจากโครงผผลึกเป็นกระบวนการดูดพลังงานมีค่าเท่ากับพลังงานแลตทิช ส่วนกระะบวนการที่โมเลกุลของน้ำล้อมรอบไอออนแต่ละชนิดเป็นกระบวนการคายพลังงาน
สมการไอออนิกและสมการไอออนิกสุทธิ
ในสมการไอออนิกมีไอออนที่ไม่ทำปฏิกิริยากัน ปรากฏอยู่ทั้งด้านซ้ายและด้านขวาของสมการ สามารถตัดออกจากสมการให้เหลือเฉพาะไอออนที่ทำปฏิกิริยากันได้เป็นผลิตภัณฑ์ เรียกว่า สมการไอออนสุทธิ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น