วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2563

O-NET

 






























3.5 การใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ

 สารประกอบของไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ มีสมบัติบางประการต่างกัน



สามารถนำสารมาใช้ประโยชน์ในด้านที่แตกต่างกันตามความเหมาะสม เช่น 

แอมโมเนียคลอไรด์ เป็นสารประกอบไอออนิกนำไฟฟ้าได้จากการแตกตตัวเป็นไอออนเมื่อละลายน้ำ สามารถนำไปใช้เป็นสารอิเล็กโทรไลต์ในถ่านไฟฉายได้

ทองแดงและอะลูมิเนียม เป็นโลหะที่นำไฟฟ้าได้ดี จึงนำไปใช้เป็นตัวนำไฟฟ้า

อะลูมิเนียมและเหล็ก เป็นโลหะที่นำความร้อนได้ดี จึงนำไปใช้ทำภาชนะสำหรับการประกอบอาหาร เช่น หม้อ กะทะ

3.4 พันธะโลหะ

 การเกิดพันธะโลหะ

เวเลนต์อิเล็กตรอนของแต่ละอะตอมสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระไปทั่วทั้งชิ้นโลหะและเกิดการยึดเหนี่ยวกับโปรตอนในนิวเคลียสทุกทิศทุกทางการยึดเหนี่ยวนี่ เรียกว่า พันธะโลหะ  การเกิดพันธะโลหะอาจแสสดงได้ด้วย แบบจำลองทะเลอิเล็กตรอน


สมบัติของโลหะ

- โลหะมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง
- โลหะมีผิวมันวาวและสามารถสะท้อนแสงได้
- โลหะนำไฟฟ้าและนำความร้อนได้ดี

3.3 พันธะโคเวเลนต์

การเกิดพันธะโคเวเลนต์

ธาตุอโลหะมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงเมื่อรวมตัวกันจะไม่มีอะตอมใดยอมเสียอิเล็กตรอนอะตอมจึงยึดเหนี่ยวกันโดยใช้เวเลนต์อิเล็กตรอนร่วมกันเรียกว่า พันธะโคเวเลนต์ และเรียกสารที่อะตอมยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโคเวเลนต์ว่า สารโคเวเลนต์

พันธะเดี่ยว คือ การใช้เวเลนต์ผอิเล็กตรอนร่วมกัน 1 คู่  
พันธะคู่ คือ การใช้เวเลนต์อิเล็กตรอนร่วมกัน 2 คู่
พันธะสาม คือ การใช้เวเลนต์อิเล็กตรอนร่วมกัน 3 คู่
โครงสร้างลิวอิส คือ การเกิดพันธะโคเวเลนต์ พันธะโคเวเลนต์เกิดได้ทั้ง พันธะเดี่ยว พันธะคู่ และพันธะสาม แสดงอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะด้วยจุดหรือเส้น


สูตรโมเลกุลและชื่อของสารโคเวเลนต์

เรียงลำดับจากค่าอิเล็กโทรเนกาวิตีน้อยไปมาก พร้อมทั้งระบุจำนวนอะตอมของธาตุที่มีจำนวนอะตอมมากกว่า 1 อะตอม 

การเรียงชื่อสารโคเวเลนต์
1. สารโคเวเลนต์ที่ประกอบด้วยธาตุชนิดเดียว
2. สารประกอบที่ประกอบด้วยธาตุ 2 อะตอม  โดยเปลี่ยนพยางค์ท้ายเป็น ไ-ด์ และ ระบุจำนวนอะตอมธาตุองค์ประกอบในโมเลกุล คำในภาษากรีก


ความยาวพันธะและพลังงานพันธะของสารโคเวเลนต์

ระยะระหว่างนิวเคลียสที่ทำให้พลังงานศักย์ต่ำสุด เรียกว่า ความยาวพันธะ
การเคลื่อนย้ายตำแหน่งของอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะในโมเลกุลที่เขียนโครงสร้างลิวอิสได้มากกว่า 1 แบบ เรียกว่า เรโซแนนซ์ และเรียกโครงสร้างลิวอิสแต่ละแบบว่า โครงสร้างเรโซแนนซ์ และ เรียกโครงสร้างผสมของโครงสร้างเรโซแนนซ์ทุกโครงสร้างว่า โครงสร้างเรโซแนนซ์ผสม


พลังงานปริมาณน้อยที่สุดที่ใช้สลายพันธะระหว่างอะตอมคู่ร่วมพันธะในโมเลกุลสถานะแก๊สให้อะตอมเดี่ยวในสถานะแก๊สเรียกว่า พลังงานพันธะ

ปฏิกิริยาเคมีเกี่ยวข้องกับกระบวนการสลายพันธะในสารตั้งต้นและการสร้างพันธะเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ ดูดเป็น+  คายเป็น -  สูตรคือ ΔH = E1 + E2

รูปร่างโมเลกุลโคเวเลต์


สภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลต์

1. พันธะโคเวเลนต์ไม่มีขั้ว เกิดจากอะตอมของธาตุชนิดเดียวกัน มีค่า EN เท่ากัน
2. พันธะโคเวเลนต์มีขั้ว เกิดจากอะตอมของธาตุต่างชนิดกัน มีค่า EN ไม่เท่ากัน ผบต่างของ EN มาก สภาพขั้วจะแรงมาก

แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลและสมบัติของสารโคเวเลนต์

1. แรงลอนดอน คือ แรงยึดเหนี่ยวที่เกิดในทุกโมเลกุล จุดเดือด จุดหลอมเหลวของแรงลอนดอนจึงขึ้นอยู่กับ มวลโมเลกุล
2. แรงดึงดูดระหว่างขั้ว คือ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมีขั้ว แรงดึงดูดระหว่างขั้ว + แรงลอนดอน = แรงแวนเดอร์วาลส์
3. พันธะไฮโดรเจน คือ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล (ไม่ใช่ภายในโมเลกุล) เกิดระหว่าง H  ในโมเลกุลหนึ่งกับอีกธาตุหนึ่งที่มีขนาดเล็กและค่าENสูงในอีกโมเลกุลหนึ่ง ได้แก่ F O N

สารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่าย

สารที่มีพันธะโคเวเลนต์เชื่อมต่อกันเป็นโครงร่างตาข่าย





3.2 พันธะไอออนิก

 สารที่เกิดจากธาตุโลหะกับธาตุอโลหะ เช่น โซเดียมตลอไรด์ แคลเซียมฟลูออไรด์ มีสมบัติบางประการคล้ายกัน และสารเหล่านี้มีการยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคที่เหมือนกัน

การเกิดพันธะไอออนิก

- ธาตุโลหะ มีพลังงานไอออไนเซซันต่ำจึงเสียอิเล็กตรอนเป็นไอออนบวกได้ง่าย 
- ธาตุอโลหะ มีค่าสัมพรรคภาคอิเล็กตรอนสูงจึงรับอิเล็กตรอนเป็นไอออนลบ
ไอออนบวกและไอออนลบมีประจุไฟฟ้าต่างกันจึงยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงดึงดูดระหว่างประจุไฟฟ้า คือ พันธะไอออนิก และเรียกสารที่เกิดจากพันธะไอออนิกว่า สารประกอบไอออนิก


สารประกอบไอออนิกในสถานะของแข็งอยู่ในรูปของผลึกที่มีไอออนบวกและไอออนลบยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะไอออนิกอย่างต่อเนื่องกันไปทั้งสามมิติเป็นโครงผลึก และ ไม่อยู่ในรูปโมเลกุล

สูตรเคมีและชื่อของสารประกอบไอออนิก

สารประกอบไอออนิกประกอบด้วยไอออนบวกและไอออนลบที่มีประจุต่างๆ มีผลต่ออัตราส่วนการรวมของไอออนและสูตรของสารประกอบไอออนิก

สารประกอบไอออนิกเกิดจากไอออนบวกและไอออนลบ ชื่อของไอออนบวกเรียกตามชื่อธาตุแล้วลงท้ายด้วยคำว่า ไอออน 
ไอออนลบเรียกชื่อธาตุโดยเปลี่ยนท้ายเสียงเป็น ไ-ด์แล้วลงท้ายด้วยคำว่า ไอออน


ชื่อสารประกอบไอออนิกได้จากการเรียกชื่อไอออนบวกแล้วตามด้วยชื่อไอออนลบโดยตัดคำว่า ไอออน ออก

ธาตุโลหะบางชนิดสามารถเกิดเป็นไอออนบวกที่มีประจุได้หลายค่า โดยเฉพาะธาตุโลหะแทรนซิซัน ค่าที่แสดงประจุไฟฟ้าหรือประจุไฟฟ้าสมมติของไอออนหรืออะตอมของธาตุ เรียกว่า เลขออกซิเดซัน

พลังงานกับการเกิดสารประกอบไอออนิก

ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงพลังงานด้วย ซึ่งพลังงานการเกิด ของสารประกอบสามารถหาได้จากการทดลองในการทำปฏิกิริยาระหว่างธาตุ

สมบัติของสารประกอบไอออนิก

สารประกอบไอออนิกส่วนใหญ่เป็นผลึกที่แข็งเนื่องจากการยึดเหนี่ยวที่แข็งแรงระหว่างไอออนบวกและไอออนลบ ผลึกมีความเปราะ แตกหักง่าย เนื่องจากการเลื่อนตำแหน่งเพียงเล็กน้อยของไอออนเมื่อมีแรงกระทำ อาจทำให้ไอออนชนิดเดียวกันเลื่อนไถลไปอยู่ตำแหน่งตรงกัน เกิดแรงผลักระหว่างกัน

- สารประกอบไอออนิกสถานะของแข็ง ไม่นำไฟฟ้า แต่เมื่อหลอมเหลวหรือละลายในน้ำจะนำไฟฟ้าได้
- สารประกอบไอออนิกมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง ส่วนใหญ่ละลายน้ำได้ ส่วนใหญ่สารละลายของสารประกอบไอออนิกในน้ำส่วนใหญ่มีสมบัติเป็นกลางหรือเบส

พลังงานไฮเดรชัน คือ ไอออนบวกและไอออนลบแยกอออกจากโครงผผลึกเป็นกระบวนการดูดพลังงานมีค่าเท่ากับพลังงานแลตทิช ส่วนกระะบวนการที่โมเลกุลของน้ำล้อมรอบไอออนแต่ละชนิดเป็นกระบวนการคายพลังงาน

สมการไอออนิกและสมการไอออนิกสุทธิ

ในสมการไอออนิกมีไอออนที่ไม่ทำปฏิกิริยากัน ปรากฏอยู่ทั้งด้านซ้ายและด้านขวาของสมการ สามารถตัดออกจากสมการให้เหลือเฉพาะไอออนที่ทำปฏิกิริยากันได้เป็นผลิตภัณฑ์ เรียกว่า สมการไอออนสุทธิ


3.1 สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสและกฏออกเตต

 บทที่3 พันธะเคมี


เวเลนซ์อิเล็กตรอนของธาตุอาจแสดงด้วยจุด สัญลักษณ์ที่แสดงธาตุและเวเลนซ์อิเล็กตรอนของธาตุ เรียกว่า สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิส


อะตอมของธาตุอื่นๆมีแนวโน้มที่จะรวมตัวกันเพื่อที่จะทำให้แต่ละอะตอมมีเวเลนซ์มีอิเล็กตรอนเท่ากับ8 จึงมีการสรุปเป็นหลักการที่เรียกว่า กฏออกเตต

สารที่ไม่อยู่ในรูปอะตอมเดี่ยว มีพันธเคมียึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมหรือไอออน โดยอะตอมของธาตุอาจมีการให้อิเล็กตรอน รับอิเล็กตรอน หรือ ใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน ทำให้เกิดพันธะเคมี 3 ประเภท คือ พันธะไอออนิก พันธะโคเวเลนต์ และ พันธะโลหะ

วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2563

2.7 การนำธาตุไปใช้ประโยชน์และผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต

 นำทองมาทำเป็นเครื่องประดับ นำเหล็กมาทำมีด นำทองแดงมาทำภาชนะเครื่องใช้

ประโยชน์ของธาตุ

- ธาตุโลหะ มีสมบัติการนำความร้อนและนำไฟฟ้าได้ดีจึงนำมาทำเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น นำทองแดงมาทำภาชนะเคื่องใช้
- ธาตุหมู่ 18 ป็นธาตุที่เฉยต่อการเกิดปฏิกิริยาจึงนำมาใช้ประโยชน์ตามสมบัติของแก๊สมีสกุลเช่นนำฮีเลียมซึ่งมีความหนาแน่นน้อยกว่าอากาศมาบรรจุในบอลลูนและเรือเหาะแทนแก๊สไฮโดรเจน
- ธาตุกึ่งโลหะ นำไฟฟ้าได้แต่นำได้ไม่ดี นิยมนำมาทำเป็นสารกึ่งนำ มีสัมบัติในการนำไฟฟ้าอยู่ระหว่างตัวนำและฉนวนเพื่อใช้เป็นวัสดุทำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ

ผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

ธาตุบางชนิดส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตและสื่งแวดล้อม เช่น ตะกั่วได้ถูกใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตแบตเตอรี่ การปนเปื้อนของตะกั่วทั้งในดิน น้ำ และ อากาศ ล้วนส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต เช่น ถ้าตะกั่วปนเปื้อนในน้ำ อาจส่งผลกระทบต่อระบบการเจริญพันธุ์ ระบบโลหิตและระบบประสาทของสัตว์ในแหล่งน้ำมัน

2.6 ธาตุกัมมันตรังสี

 สามารถแผ่รังสีแล้วกลายเป็นอะตอมของธาตุใหม่ได้ ต่อมาพบว่า ธาตุพอโลเนียม เรเดียม และทอเรียม ก็สามารถแผ่รังสีได้ ปรากฏการณ์ที่ธาตุแผ่รังสีได้เองอย่างต่อเนื่อง เรียกว่า กัมมันตภาพรังสี เป็นการเปลี่ยนแปลงภายในนิวเคลียสของไอโซโทปที่ไม่เสถียร และ ไอโซโทปของธาตุที่สามารถแผ่รังสีได้เองอย่างต่อเนื่อง เรียกว่า ไอโซโทปกัมมันตรังสี หรือ สารกัมมันตรังสี สำหรับธาตุที่ทุกไอโซโทปเป็นไอโซโทปกัมมันตรังสี เรียกว่า ธาตุกัมมันตรังสี

การเกิดกัมมันตภาพรังสี

เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดกับไอโซโทปกัมมันตรังสีเพราะนิวเคลียสมีพลังงานสูงมากแและไม่เสถียร จึงปล่อยพลังงานออกมา รังสีที่แผ่ออกมาอาจเป็น รังสีแอลฟา รังสีบีตา หรือ รังสีแกมมา



การสลายตัวของไอโซโทปกัมมันตรังสี

-การแผ่รังสีแอลฟา เกิดกับนิวเคลียสที่มีเลขอะตอมสูงกว่า 38  และ มีจำนวนนิวตรอนต่อโปรตอนในสัดส่วนที่ไม่เหมาะสม
-การแผ่รังสีบีตา เกิดกับนิวเคลียสที่ทีจำนวนนิวตรอนมากกว่าโปรตอน นิวตรอนในนิวเคลียสจะเปลี่ยนไปเป็นโปรตอนและอิเล็กตรอน
-การแผ่รังสีแกมมา เกิดกับไอโซโทปกัมมันตรังสีที่มีพลังงานสูงมาก หรือ ไอโซโทปที่สลายตัวให้รังสีแอลฟาและรังสีบีตา

อันตรายจากไอโซโทปกัมมันตรังสี

รังสีต่างๆเหล่านี้มีแหล่งกำเนิดจากธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นมา สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวกับรังสีจะต้องแสดง สัญลักษณ์รังสี ลงบนฉลากของภาชนะหรือเครื่องมือรวมทั้งบริเวณใกล้เคียง

ครึ่งชีวิตของไอโซโทปกัมมันตรังสี

ไอโซโทปกัมมันตรังสีจะสลายตัวให้รังสีชนิดใดชนิดหนึ่งออกมาเองตลอดเวลา ไอโซโทปกัมมันตรังสีแต่ละชนิดจะสลายตัวได้เร็วหรือช้าแตกต่างกัน อัตราการสลายตัวจะบอกเป็น ครึ่งชีวิต 



ปฏิกิริยานิวเคลียร์

เป็นการเปลี่ยนแปลงในนิวเคลียสของไอโซโทปกัมมันตรังสี อาจเกิดจากการแตกตัวของนิวเคลียสของอะตอมที่มีขนาดใหญ่ หรือเกิดจากการรวมตัวของนิวเคลียสของอะตอมที่มีขนาดเล็กได้ไอโซโทปใหม่หรือนิวเคลียสของธาตุใหม่

-ฟิชชัน กระบวนการที่นิวเคลียสของไอโซโทปของธาตุหนักบางชนิดแตกออกเป็นไอโซโทปของธาตุที่เบากว่า
-ฟิวชัน นิวเคลียสของธาตุเบาสองชนิดหลอมรวมกันเกิดเป็นนิวเคลียสใหม่ที่มีมวลสูงกว่าเดิมและพลังงานมาก
-ปฏิกิริยาลูกโซ่ นิวตรอนที่เกิดใหม่ชนกับนิวเคลียสอื่นๆจะเกิดฟิชชันต่อเนื่องไปเรื่อยๆ
-พลาสมา กระบวนฟิวชันมานานแต่การนำมาใช้อย่างเป็นรูปธรรมเป็นไปได้ยากเพราะการเกิดฟิวชันต้องใช้อุณหภูมิสูงมาก

เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารกัมมันตรังสี

- ด้านธรณีวิทยา ใช้ C-14 หาอายุของวัตถุโบราณที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ
- ด้านการแพทย์ ใช้เพื่อศึกษาความผิดปกติของอวัยวะต่างๆในร่างกาย
- ด้านเกษตรกรรม ใช้ในการติดตามระยะเวลาของการหมุนเวียนแร่ธาตุในพืช
- ด้านอุตสาหกรรม ใช้ตรวจหารอยตำหนิในโลหะหรือรอยรั่วของท่อขนส่งของเหลว

2.5 ธาตุแทรนซิซัน

 ธาตุแทรนซิซันเหล่านี้มีอยู่ทั้งในธรรมชาติและได้จากการสังเคราะห์ บางธาตุเป็นธาตุกัมมันตรังสี

สมบัติของธาตุแทรนซิซัน

ธาตุแทรนซิซันมีจุดหลอมเหลว จุดเดือด และความหนาแน่นสูงกว่าโลหะหมู่หลัก อ่านเพิ่มเติม



วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2563

2.4 ตารางธาตุและสมบัติของธาตุหมู่หลัก

 เรียงธาตุตามมวลอะตอมจากน้อยไปมาก จะพบว่าธาตุมีสมบัติคล้ายกันเป็นช่วงๆ การที่ธาตุต่างๆมีสมบัติคล้ายกันเป็นช่วงเช่นนี้ เมนเดเลเอฟตั้งเป็นกฎเรียกว่า กฎพิริออดิก การจัดธาตุเป็นหมวดหมู่ของเมนเดเลเอฟไม่ได้ยึดการเรียงลำดับตามมวลอะตอมจากน้อยไปมากเพียงอย่างเดียว แต่ได้นำสมบัติที่คล้ายคลึงกันของธาตุที่ปรากฏซ้ำกันเป็นช่วงๆ มาพิจารณาด้วย

ตารางธาตุแบ่งธาตุในแนวตั้งเป็น 18 แถว โดยเรียกแถวในแนวตั้งว่า หมู่ และแบ่งธาตุในแนวนอนเป็น 7 แถว เรียกแถวในนอนว่า คาบ ซึ่งแต่ละคาบจัดเรียงธาตุตามอะตอมที่เพิ่มขึ้นตามลำดับ

กลุ่มของธาตุในตารางธาตุ

ถ้าแบ่งธาตุตามสมบัติความเป็นโลหะจะแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ ธาตุโลหะ เป็นธาตุที่นำไฟฟ้าและความร้อนได้ดี ธาตุกึ่งโลหะ เป็นธาตุที่นำไฟฟ้าได้ไม่ดี ธาตุอโลหะ นำไฟฟ้าไม่ดี ยกเว้น คาร์บอน และ ฟอสฟอรัสดำ

ขนาดอะตอม

ตามแบบจำลองกลุ่มหมอก อิเล็กตรอนที่อยู่รอบนิวเคลียสจะเคลื่อนที่ตลอดเวลาด้วยความเร็วสูงและไม่สามารถบอกตำแหน่งที่แน่นอนรวมทั้งไม่สามารถกำหนดขอบเขตที่แน่นอนของอิเล็กตรอนได้ อะตอมโดยทั่วไปไม่อยู่เป็นอะตอมเดี่ยวแต่จะมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมไว้ด้วยกัน บอกขนาดอะตอมด้วย รัศมีอะตอม

ขนาดไอออน

อะตอมมีจำนวนโปรตอนเท่ากับอิเล็กตรอน เมื่อรับอิเล็กตรอนเพิ่มเข้ามาหรือเสียอิเล็กตรอนออกไปอะตอมจะกลายเป็นไอออน บอกขนาดไอออนด้วยเป็นค่า รัศมีไอออน

พลังงานไอออเนเซซัน

พลังงานปริมาณน้อยที่สุดที่ทำให้อิเล็กตรอนหลุดจากอะตอมในสถานะแก๊สเรียกว่า พลังงานไออเนเซซัน  โดย IE น้อยแสดงว่าทำให้เป็นไอออนบวกได้ง่ายแต่ถ้า IE  มากแสดงว่าทำให้เป็นไอออนบวกได้ยาก

สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน

ความสามารถในการรับอิเล็กตรอนของอะตอมของธาตุในสถานะแก๊ส EA เป็นค่าพลังงานที่ต้องใช้ในการทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกจากไอออนลบของธาตุ

อิเล็กโทรเนกาติวิตี

ค่า EN คือความสามารถของอะตอมในการดึงดูดอิเล็กตรอนคู่ที่ใช้ร่วมกันในโมเลกุลของสาร



วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2563

2.3 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม

 ระดับพลังงานหลัก และ ระดับพลังงานย่อย

เส้นสเปกตรัมที่เกิดขขึ้น นอกจากเป็นการคายพลังงานของอิเล็กตรอนจาก ระดับพลังงานหลัก ซึ่งแทนด้วย n ยังเป็นการคายพลังงานของอิเล็กตรอนจาก ระดับพลังงานย่อย ของแต่ละระดับพลังงานอีกด้วย


ระดับพลังงานหลักที่ 1 (n = 1 ) มี1 ระดับพลังงานย่อย s
ระดับพลังงานหลักที่ 2 (n = 2 ) มี 2 ระดับพลังงานย่อย s p
ระดับพลังงานหลักที่ 3 (n = 3 ) มี 3 ระดับพลังงานย่อย s p d 
ระดับพลังงานหลักที่ 4 (n = 4 ) มี 4 ระดับพลังงานย่อย s p d f

ออร์บิทัล

อิเล็กตรอนมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา บริเวณรอบนิวเคลียสมีโอกาสที่จะพบอิเล็กตรอนและมีพลังงานเฉพาะนี่ว่า ออร์บิทัล
 - ระดับพลังงานย่อย s มี 1 ออร์บิทัล
 - ระดับพลังงานย่อย p มี 3 ออร์บิทัล
 - ระดับพลังงานย่อย d มี 5 ออร์บิทัล
 - ระดับพลังงานย่อย f มี 7 ออร์บิทัล

หลักการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม

การจัดเรียงอิเล็กตรอนของอะตอมหนึ่งๆให้พิจารณาตาม หลักอาฟบาว คือ การบรรจุอิเล็กตรอนต้องบรรจุในออร์บิทัลที่มีพลังงานต่ำสุดและว่างอยู่ก่อนเสมอ เริ่มจาก 1s 2s 2p 3s.....ตามลำดับ เพราะทำให้พลังงานรวมทั้งหมดมีค่าต่ำที่สุดและอะตอมมีความเสถียรที่สุด


อิเล็กตรอนที่อยู่ในระดับพลังงานหลักสูงสุดหรือชั้นนอกสุดของอะตอมเรียกว่า เวเลนซ์อิเล็กตรอน
 ธาตุที่ได้รับหรือเสียอิเล็กตรอนสามารถเขียนการจัดเรียงอิเล็กตรอนได้ดังนี้
- 1.  กรณีธาตุได้รับอิเล็กตรอน ให้บรรจุอิเล็กตรอนปกติรวมกับอิเล็กตรอนที่รับเข้ามาตามลำดับระดับพลังงานโดยอาศัยแผนภาพตามหลักอาฟบาว
- 2. กรณีธาตุเสียอิเล็กตรอน ให้บรรจุอิเล็กตรอนตามปกติก่อน จากนั้นจึงนำอิเล็กตรอนที่อยู่ชั้นนอกสุดออก



วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2563

2.2 อนุภาคในอะตอมและไอโซโทป

 อนุภาคในอะตอม


เลขอะตอม เลขมวล และ ไอโซโทป

อะตอมประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอนรวมกันเป็นนิวเคลียสของอะตอม และมีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากับจำนวนโปรตอน อะตอมของธาตุแต่ละชนิดมีจำนวนโปรตอนเฉพาะตัวไม่ซ้ำกับธาตุอื่น ตัวเลขที่แสดงจำนวนโปรตอน เรียกว่า เลขอะตอม  ผลรวมของจำนวนโปรตอนและนิวตรอน เรียกว่า เลขมวล  

สัญลักษณ์นิวเคลียร์


อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันมีจำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนเท่ากัน แต่จำนวนนิวตรอนอาจมีได้หลายค่า ทำให้อะตอมของธาตุเดียวกันมีมวลต่างกัน เรียกว่า ไอโซโทป




O-NET